หน่วยที่ 2 ระบบผิวหนัง

ระบบผิวหนังหรือระบบห่อหุ้มร่างกาย ระบบผิวหนัง | โครงสร้างของผิวหนัง | หน้าที่ของผิวหนัง | การดูแลรักษาผิวหนัง ระบบผิวหนังหรือระบบห่อหุ้มร่างกาย (Integumentary system) bg45.gif sk_anat.gif ระบบผิวหนัง มีลักษณะเป็นเนื้อเยื่อที่อยู่ชั้นนอกสุดของร่างกายปกคลุมห่อหุ้มร่างกายทั้งหมดของเราไว้ผิวหนังของผู้ใหญ่คน หนึ่งมีเนื้อที่ประมาณ 3,000 ตารางนิ้ว มีความหน ประมาณ 1 – 4 มิลลิเมตรโดยความหนาของผิวหนังจะแตกต่างกันไปตามอวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และบริเวณที่ถูกเสียดสีโดยผิวหนังส่วนที่หนาที่สุด ของร่างกายคือ บริเวณฝ่ามือ และฝ่าเท้าส่วนผิวหนังส่วนที่บางที่สุดของร่างกาย คือบริเวณหนังตา และหนังหู ภายในผิวหนังนั้นมีปลายประสาทรับรู้ความรู้สึกอยู่มากมายเพื่อรับรู้การสัมผัสความเจ็บปวด และอุณหภูมิร้อนเย็นต่าง ๆ นอกจากนี้บนผิวหนังยังมีรูเล็ก ๆ ซึ่งเรียกว่า รูขุมขน ซึ่งเป็นรูเปิดของขุมขน ท่อต่อมไขมันและต่อมเหงื่อผิวหนัง สามารถยืดหยุ่นได้มาก และผิวหนังบนร่างกาย ส่วนใหญ่สามารถเลื่อนไปเลื่อนมาได้แต่ก็มีบางส่วนที่ติดแน่นกับอวัยวะ เช่น หนังศีรษะด้านนอกของใบหูฝ่ามือ และฝ่าเท้าและตามรอยพับของข้อต่อต่าง ๆนอกจากนี้ผิวหนังบริเวณฝ่ามือและฝ่าเท้าจะมีรอยนูนอยู่เป็นจำนวนมากโดยเฉพาะปลายนิ้วมือจะมีสันนูนเรียงกันเป็น ร้อยหวาย หรือรอยก้นหอย ซึ่งรอยนี้จะต่างแตกกันออกไปในแต่ละบุคคล และบริเวณผิวหนังทีกล้ามเนื้อเกาะอยู่ จะเกิดเป็นรอยย่นได้เมื่อกล้ามเนื้อเกิดการหดตัว เช่นบริเวณใบหน้ามีกล้ามเนื้อยึดติดที่ผิวหนังมากเมื่อแสดอารมณ์โกรธ กลัว ยิ้มแย้มแจ่มใส หรือเศร้าหมองจะทำให้เกิดร่องรอยบนผิวหนังอย่างเห็นได้ชัด โครงสร้างของผิวหนัง Table of Contents ระบบผิวหนัง โครงสร้างของผิวหนัง หน้าที่ของผิวหนัง การดูแลรักษาผิวหนัง ผิวหนังของคนเราแบ่งออกได้เป็น 2 ชั้น คือ หนังกำพร้าและหนังแท้ 1. หนังกำพร้า (Epidermis) เป็นผิวหนังที่อยู่ ชั้นบนสุด มีลักษณะบางมาก ประกอบไปด้วยเชลล์ เรียงซ้อนกันเป็นชั้นๆโดยเริ่มต้นจากเซลล์ชั้นในสุด ติดกับหนังแท้ ขึ่งจะแบ่งตัวเติบโตขึ้นแล้วค่อยๆ เลื่อu มาทดแทนเขลล์ที่อยู่ชั้นบนจนถึงชั้นบนสุด แล้วก็ กลายเป็นขี้ไคลหลุดออกไปนอกจากนี้ในชั้นหนังกำพร้ายังมีเซลล์ เรียกว่า เมลานิน ปะปนอยู่ด้วย เมลานินมีมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับบุคคลและเชื้อชาติ จึงทำให้สีผิวของคนแตกต่าง กันไป ในชั้นของหนังกำพร้าไม่มีหลอดเลือดเส้นประสาท และต่อมต่างๆ นอกจากเป็นทางผ่านของรูเหงื่อ เส้นขน และไขมันเท่านั้น 2.หนังแท้ (Dermis) เป็นผิวหนังที่อยู่ชั้นล่าง ถัดจากหนังกำพร้า และหนากว่าหนังกำพร้ามาก ผิว หนังชั้นนี้ประกอบไปด้วยเนี้อเยื่อคอลลาเจน (Collagen) และอีลาสติน (Elastin) หลอดเลือดฝอย เส้นประสาทกล้ามเนื้อเกาะเส้นขน ต่อมไขมัน ต่อมเหงื่อ และขุม ขนกระจายอยู่ทั่วไป .jpg หน้าที่ของผิวหนัง 1. ป้องกันและปกปิดอวัยวะภายในไม่ให้ได้รับ อันตราย 2. ป้องกันเชื้อโรคไม่ให้เข้าสู่ร่างกายโดยง่าย 3. ขับของเสียออกจากร่างกาย โดยต่อมเหงื่อ ขับเหงื่อออกมา 4. ช่วยรักษาอุณหภูมิของร่างกายให้คงที่ โดย ระบบหลอดเลือดฝอยและการระเหยของเหงื่อ 5. รับความรู้สึกสัมผัส เช่น ร้อนหนาว เจ็บ ฯลฯ 6. ช่วยสร้างวิตามินดีให้แก่ร่างกาย โดยแสง แดดจะเปลี่ยนไขมันชนิดหนึ่งที่ผิวหนังให้เป็นวิตามินดีได้ 7. ขับไขมันออกมาหล่อเลี้ยงเส้นผม และขน ให้เป็นเงางามอยู่เสมอและไม่แห้ง 13.jpg การดูแลรักษาผิวหนัง ทุกคนย่อมมีความต้องการมีผิวหนังที่สวยงาม สะอาด ไม่เป็นโรคและไม่เหี่ยวย่นเกินกว่าวัย ฉะนั้นจึงควรดูแลรักษาผิวหนังตัวเอง ดังนี้ 1. อาบน้ำชำระร่างกายให้สะอาดอยู่เสมอ โดย 1.1 อาบน้ำอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ในเวลาเช้าและเย็น เพื่อช่วยชำระล้างคราบเหงื่อไคล และความสกปรกออกไป 1.2 ฟอกตัวด้วยสบู่ที่มีฤทธิ์เป็นด่างอ่อนๆ 1.3 ทำความสะอาดให้ทั่ว โดยเฉพาะบริเวณใต้รักแร้ ขาหนีบ ข้อพับ อวัยวะเพศ ง่ามนิ้วมือ นิ้วเท้า ใต้คาง และหลังใบหู เพราะเป็นที่อับและเก็บความชื้น อยู่ได้นาน 1.4 ในขณะอาบน้ำ ควรใช้นิ้วมือ หรือฝ่ามือ ถูตัวแรงๆ เพราะนอกจากช่วยให้ร่างกายสะอาดแล้ว ยังช่วยให้การหมุนเวียนของเลือดดีขึ้น 1.5 เมี่ออาบน้าเสร็จ ควรใช้ผ้าเช็ดตัวที่ สะอาด เช็ดตัวให้แห้ง แล้วจึงค่อยสวมเสื้อผ้า 2. หลังอาบน้ำแล้ว ควรใส่เสื้อผ้าที่สะอาด และเหมาะสมกับอากาศและงานที่ปฏิบัติ เช่น ถ้าอากาศ ร้อนก็ควรใส่เสื้อผ้าบาง เพื่อไม่ให้เหงื่อออกมาก เป็นต้น 3. กินอาหารให้ถูกต้องและครบถ้วนตามหลัก โภชนาการ โดยเฉพาะอาหารที่มีวิตามินเอ เช่น พวก น้ำมันตับปลา ตับสัตว์ เนย นม ไข่แดง เครื่องในสัตว์ มะเขือเทศ มะละกอ รวมทั้งพืชใบเขียวและใบเหลือง วิตามินเอ จะช่วยให้ผิวหนังชุ่มชื้น ไม่เป็นสะเก็ด แห้ง ทำให้เล็บไม่เปราะ และยังทำให้เส้นผมไม่ร่วงง่ายอีกด้วย 4. ดื่มน้ำมากๆ เพื่อทำให้ผิวหนังเปล่งปลั่ง 5. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพื่อช่วยให้การ หมุนเวียนของเลือดดีขึ้u 6. ควรให้ผิวหนังได้รับแสงแดดสม่ำเสมอ โดย เฉพาะเวลาเช้าซึ่งแดดไม่จัดเกินไป และพยายามหลีก เลี่ยงการถูกแสงแดดจ้า เพราะจะทำให้ผิวหนังเกรียม และกร้านดำ 7.ระมัดระวังโนการใช้เครื่องสำอาง เพราะ อาจเกิดอาการแพ้ หรือทำให้ผิวหนังอักเสบ เป็น อันตรายต่อผิวหนังได้ หากเกิดอาการแพ้ต้องเลิกใช้ เครื่องสำอางชนิดนั้นทันที 8. เมื่อมีสิ่งผิดปกติใดๆ เกิดขึ้นกับผิวหนัง ควรปรึกษาแพทย์





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น